จากใจ..ผู้อำนวยการ

ยินดีต้อนรับท่านผู้มีเกียรติ ที่มาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ของดิฉัน
ดิฉันใคร่ขอกล่าวแนะนำตัวแก่ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม เพื่อให้ท่านรู้จักกับดิฉันก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาสาระที่บรรจุไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้ต่อไป
ดิฉัน ชื่อนางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 ดิฉันตั้งใจให้เว็บไซต์แห่งนี้ เป็นที่เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษารวมถึงภารกิจงานภายในโรงเรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นหน้าต่างของดิฉันที่จะติดต่อสื่อสารกับท่านทั้งหลายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด ดิฉันยินดีรับฟัง และยินดีนำข้อเสนอแนะที่ดีไปปรับปรุงงานของดิฉันต่อไป..ตอนนี้ดิฉันได้เพิ่มบล็อกใหม่อีกบล็อกเป็นบล็อกเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบสันติวิธีเชิญทุกท่านเข้าไปชมและดาวโหลดเอกสารเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบสันติวิธึได้ที่ http://r-sukhamuk-admin.blogspot.com/
หากมีผลงานใดที่ท่านสนใจ กรุณาติดต่อผ่านทางเมล์ดิฉันจะส่งเมลล์กลับสู่ท่าน
นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน
muk_rueng-on@hotmail.com
มีนาคม 2551

17 สิงหาคม 2550

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ชื่อผลงาน : การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์
เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549-2550
โดย : นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนเจดีย์
E-mail : muk_rueng-on@hotmail.com
โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549-2550 วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ เปรียบเทียบความมีนัยในตนเองของนักเรียน ความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ก่อนและหลังพัฒนาเพื่อศึกษา และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านควนเจดีย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 65 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 66 คน ครูโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 9 คน ครูโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 89 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 92 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2549และปีการศึกษา 2550 จำนวน 7 คน
ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่านักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ของนักเรียนหลังการพัฒนาแล้วมีการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกด้าน
นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ จากการคัดกรองของครูในภาพรวมปานกลาง ( = 3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าความรักสามัคคีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.60) รองลงมาความรับผิดชอบ ( = 3.40) ส่วนปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน, การตรงต่อเวลา, ความอดทนอดกลั้น, การประหยัดอดออมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.40)
ผลการวิจัยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ทั้ง 7 ด้าน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ด้านการตรงต่อเวลา ด้านการทำความเคารพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความอดทนอดกลั้น ด้านการประหยัดอดออม ด้านความรักสามัคคี ก่อนการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ มีค่าเฉลี่ยระดับน้อยและหลังการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ พบว่านักเรียนมีผลปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกด้าน ทุกรายการ
จากการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานในด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ในปีการศึกษา 2550 สูงกว่าปีการศึกษา 2549 นั้น เนื่องจากผู้วิจัยมีความตระหนักในคุณค่าของนักเรียนทุกคน จึงส่งเสริมให้ทุกคนมีการพัฒนาตนเองเรื่องความมีวินัยในตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองและผู้วิจัยได้บริหารการจัดการแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายทั้ง 4 กลุ่ม คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานที่ โดยแต่ละเครือข่ายมีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองให้กับนักเรียนและผู้วิจัยได้กำหนดนโยบายให้ครู ผู้สอดแทรก ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน การตรงต่อเวลา การทำความเคารพ ความรับผิดชอบ ความอดทนอดกลั้น การประหยัดอดออมและความรักสามัคคี ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ควบคุม ติดตามพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยผ่านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมชุมนุม
จากผลการวิจัยที่พบว่าด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน หลังการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ในปีการศึกษา 2550 สูงกว่าปีการศึกษา 2549

ไม่มีความคิดเห็น: