จากใจ..ผู้อำนวยการ

ยินดีต้อนรับท่านผู้มีเกียรติ ที่มาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ของดิฉัน
ดิฉันใคร่ขอกล่าวแนะนำตัวแก่ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม เพื่อให้ท่านรู้จักกับดิฉันก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาสาระที่บรรจุไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้ต่อไป
ดิฉัน ชื่อนางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 ดิฉันตั้งใจให้เว็บไซต์แห่งนี้ เป็นที่เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษารวมถึงภารกิจงานภายในโรงเรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นหน้าต่างของดิฉันที่จะติดต่อสื่อสารกับท่านทั้งหลายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด ดิฉันยินดีรับฟัง และยินดีนำข้อเสนอแนะที่ดีไปปรับปรุงงานของดิฉันต่อไป..ตอนนี้ดิฉันได้เพิ่มบล็อกใหม่อีกบล็อกเป็นบล็อกเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบสันติวิธีเชิญทุกท่านเข้าไปชมและดาวโหลดเอกสารเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบสันติวิธึได้ที่ http://r-sukhamuk-admin.blogspot.com/
หากมีผลงานใดที่ท่านสนใจ กรุณาติดต่อผ่านทางเมล์ดิฉันจะส่งเมลล์กลับสู่ท่าน
นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน
muk_rueng-on@hotmail.com
มีนาคม 2551

17 สิงหาคม 2550

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ชื่อผลงาน : การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์
เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549-2550
โดย : นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนเจดีย์
E-mail : muk_rueng-on@hotmail.com
โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549-2550 วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ เปรียบเทียบความมีนัยในตนเองของนักเรียน ความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ก่อนและหลังพัฒนาเพื่อศึกษา และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านควนเจดีย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 65 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 66 คน ครูโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 9 คน ครูโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2549 จำนวน 89 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 92 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2549และปีการศึกษา 2550 จำนวน 7 คน
ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่านักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ของนักเรียนหลังการพัฒนาแล้วมีการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกด้าน
นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ จากการคัดกรองของครูในภาพรวมปานกลาง ( = 3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าความรักสามัคคีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.60) รองลงมาความรับผิดชอบ ( = 3.40) ส่วนปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน, การตรงต่อเวลา, ความอดทนอดกลั้น, การประหยัดอดออมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.40)
ผลการวิจัยการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ทั้ง 7 ด้าน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน ด้านการตรงต่อเวลา ด้านการทำความเคารพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความอดทนอดกลั้น ด้านการประหยัดอดออม ด้านความรักสามัคคี ก่อนการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ มีค่าเฉลี่ยระดับน้อยและหลังการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ พบว่านักเรียนมีผลปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกด้าน ทุกรายการ
จากการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานในด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ในปีการศึกษา 2550 สูงกว่าปีการศึกษา 2549 นั้น เนื่องจากผู้วิจัยมีความตระหนักในคุณค่าของนักเรียนทุกคน จึงส่งเสริมให้ทุกคนมีการพัฒนาตนเองเรื่องความมีวินัยในตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองและผู้วิจัยได้บริหารการจัดการแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายทั้ง 4 กลุ่ม คือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานที่ โดยแต่ละเครือข่ายมีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองให้กับนักเรียนและผู้วิจัยได้กำหนดนโยบายให้ครู ผู้สอดแทรก ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน การตรงต่อเวลา การทำความเคารพ ความรับผิดชอบ ความอดทนอดกลั้น การประหยัดอดออมและความรักสามัคคี ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ควบคุม ติดตามพฤติกรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยผ่านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมชุมนุม
จากผลการวิจัยที่พบว่าด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน หลังการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ ในปีการศึกษา 2550 สูงกว่าปีการศึกษา 2549

คู่มือการบริหารงานงบประมาณ

การบริหารงบประมาณ

1. นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงบประมาณ
มีหน้าที่
1. กำกับติดตาม และนิเทศงานฝ่ายงบประมาณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. พัฒนางานในฝ่ายบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
3. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี
4. รวบรวม วางแผน และกำหนดปฏิทินงานในฝ่ายบริหารงบประมาณ ร่วมดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
5. ประสานงาน กำกับติดตาม ตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณโรงเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
6. ศึกษาระเบียบแบบแผน ของทางราชการที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ให้บุคลากรรับทราบเพื่อนำไปใช้ให้ถูกต้องตามระเบียบ
7. รายงานผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษา
8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

2. งานจัดทำและเสนอของบประมาณ มอบหมายให้
1. นายประสิน อนันตประเสริฐ หัวหน้า
2. นายวิทยา จิตต์รัตน์ ผู้ช่วย
มีหน้าที่
1. วิเคราะห์และพัฒนานโยบายทางการศึกษา
2. วิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษา ได้แก่ เป้าหมาย เชิงยุทธศาสาตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ศึกษาข้อตกลงผลการปฏิบัติงานและเป้าหมายการให้บริการสารธารณะทุกระดับได้แก่เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ( ข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่ และผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้บรรลุข้อตกลงที่สถานศึกษาทำกับเขตพื้นที่การศึกษา
4. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยการจัดและพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาตามกรอบทิศทางของเขตพื้นที่การศึกษา และตามความต้องการของสถานศึกษา
5. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามข้อตกลงที่ทำกับเขตพื้นที่การศึกษาด้านปริมาณ คุณภาพ ตลอดจนต้นทุน ซึ่งต้องคำนวณผลผลิตขององค์กร และผลผลิตงาน/โครงการ
6. จัดทำข้อมูลสารสนเทศผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
7. เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศให้เขตพื้นที่การศึกษา และสาธารณะชนรับทราบ
กฎหมาย ระเบียบ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
3) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
2. การจัดทำแผนกลยุทธ์ หรือแผนพัฒนาการศึกษา
1. ทบทวนภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และศึกษารายงานข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้อง
2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาและ ประเมินสถานภาพของสถานศึกษา
3. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษา
4. กำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษา
5. กำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ
6. กำหนดเป้าหมายระยะปานกลางของผลผลิตในเชิงปริมาณ คุณภาพและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่จะทำร่างข้อตกลงกับเขตพื้นที่การ ศึกษา
7. จัดทำรายละเอียดโครงสร้าง แผนงาน/โครงการ และกิจกรรมหลัก
8. จัดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงและนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา
9. เผยแพร่ประกาศต่อสาธารชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. การวิเคราะห์ความเหมาะสมการเสนอของบประมาณ
3.1 จัดทำรายละเอียดแผนงานงบประมาณ แผนงาน/โครงการ ให้มีความเชื่อมโยงกับผลผลิตและผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษา พร้อมกับวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน /โครงการ เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งนโยบายแผนพัฒนามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักเกณฑ์ขั้นตอนและวิธีการจัดตั้งงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการ
3.2 จัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง โดยวิเคราะห์นโยบายหน่วยเหนือที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม วิเคราะห์ผลการดำเนินงานปีงบประมาณที่ผ่านมาของสถานศึกษา เพื่อปรับเป้าหมายผลผลิตที่ต้องการดำเนินการ ใน 3 ปีข้างหน้า พร้อมกับปรับแผนงาน/โครงการและกิจกรรมหลัก ให้สอดคล้องกับประมาณรายได้ของสถานศึกษาทั้งจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
3.3 จัดทำคำขอรับงบประมาณของสถานศึกษา และกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง เสนอต่อเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องเชิงนโยบาย
3.4 จัดทำร่างข้อตกลงบริการผลผลิต ของสถานศึกษาที่จะต้องทำกับเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อได้รับงบประมาณ โดยมีเป้าหมายการให้บริการที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

3. งานการจัดสรรงบประมาณ มอบหมายให้
1.นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2.นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. การจัดสรรงบประมาณภายในสถานศึกษา
1.1 จัดทำข้อตกลงบริการผลผลิตของสถานศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อได้รับงบประมาณ
1.2 ศึกษาข้อมูลการจัดสรรงบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแจ้งผ่านเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งให้สถานศึกษาทราบเรื่องนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการจัดสรรงบประมาณ
1.3 ตรวจสอบกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจากหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรที่เขตพื้นที่การศึกษาแจ้ง ตลอดจนตรวจสอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจากแผนระดมทรัพยากร
1.4 วิเคราะห์กิจกรรมตามภารกิจงานที่จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานโครงสร้างสายงาน และตามแผนงาน/โครงการ ของสถานศึกษา เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดงบประมาณ ทรัพยากรของแต่ละสายงาน/โครงการ ให้เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับและวงเงินนอกงบประมาณตามแผนระดมทรัพยากร
1.5 ปรับปรุงกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง ( MTEF ) ให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินที่ได้รับ
1.6 จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ซึ่งระบุแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องวงเงินงบประมาณที่ได้รับและวงเงินนอกงบประมาณที่ได้ตามแผนระดมทรัพยากร
1.7 จัดทำร่างข้อตกลงผลผลิตของหน่วยงานภายในสถานศึกษาและกำหนดผู้รับผิดชอบ
1.8 นำเสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และร่างข้อตกลงผลผลิตขอความเห็นชอบคณะกรรมการสถานศึกษา
1.9แจ้งจัดสรรวงเงินและจัดทำข้อสอตกลงผลผลิตให้หน่วยงานภายในสถานศึกษารับไปดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
2. การเบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ
2.1 จัดทำแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส โดยกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานรายเดือนให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณแล้วสรุปแยกเป็นรายไตรมาส เป็นงบบุคลากร งบอุดหนุน งบลงทุน (แยกเป็นค่าครุภัณฑ์ และค่าก่อสร้าง ) และงบดำเนินการ (ตามนโยบายพิเศษ )
2.2 เสนอแผนการใช้งบประมาณวงเงินรวมเพื่อขออนุมัติเงินประจำงวด เป็นรายไตรมาสผ่านเขตพื้นที่การศึกษาไปยังคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรวบรวมเสนอต่อสำนักงบประมาณ
2.3 เบิกจ่ายงบประมาณประเภทต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีและอนุมัติการใช้งบประมาณของสถานศึกษาตามประเภทและรายการตามที่ได้รับงบประมาณ
3. การโอนเงินงบประมาณ
3.1 การโอนเงินให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

4. การตรวจสอบติดตาม ประเมินและรายงานผลการใช้เงินและผลการ
ดำเนินงาน มอบหมายให้
1.นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2.นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย
มีหน้าที่
1. การตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
1.1 จัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินทั้งงบประมาณและเงินนอกงบประมาณของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณและแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส
1.2 จัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณและแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส
1.3 จัดทำแผนการกำกับตรวจสอบและป้องกันความเสี่ยงสำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง
1.4 ประสานแผนและดำเนินการตรวจสอบ ติดตามและนิเทศให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบ ติดตามของสถานศึกษา โดยเฉพาะโครงการที่มีความเสี่ยงสูง
1.5 จัดทำข้อมูลสรุปผลการตรวจสอบ ติดตาม และนิเทศ พร้อมทั้งเสนอข้อปัญหาที่อาจทำให้การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้สถานศึกษาเร่งแก้ปัยหาได้ทันสถานการณ์
1.6 รานงานผลการดำเนินการตรวจสอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.7 สรุปข้อมูลสารสนเทศที่ได้และจัดรายงานข้อมูลการใช้งบประมาณผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นรายไตรมาสต่อเขตพื้นที่การศึกษา
2. การประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
2.1 กำหนดปัจจัยหลักความสำเร็จและตัวชี้วัด ( Key Performance Indicators : KPIS ) ของสถานศึกษา
2.2 จัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของผลผลิตที่กำหนดตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษา
2.3 สร้างเครื่องมือเพื่อการประเมินผล ผลผลิตตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษา
2.4 ประเมินแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ของสถานศึกษา และจัดทำรายงานประจำปี
2.5 รายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเขตพื้นที่การศึกษา

5. งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มอบหมายให้
1. นายประสิน อนันตประเสริฐ หัวหน้า
2. นายวิทยา จิตต์รัตน์ ผู้ช่วย
มีหน้าที่
1. การจัดการทรัพยากร
1.1 ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภายในสถานศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาทราบรายการสินทรัพย์ของสถานศึกษาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
1.2 วางระบบการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับบุคคลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้บุคคล และสถานศึกษาร่วมมือกันใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
2. การระดมทรัพยากร
2.1 ศึกษา วิเคราะห์กิจกรรมและภารกิจ งาน/โครงการ ตามกรอบประมาณการระยะปานกลาง (MTEF ) และแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติมจากประมาณการรายได้งบประมาณไว้ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมให้เป็นไปตามความเร่งด่วนและช่วงเวลา
2.2 สำรวจข้อมูลนักเรียนที่มีความต้องการ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาตามเกณฑ์การรับทุนทุกประเภท ตั้งกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียน ได้รับทุนการศึกษาโดยตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกพร้อมกับให้มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน
2.3 ศึกษาวิเคราะห์แหล่งทรัพยการ บุคคล หน่วยงาน องค์กร และท้องถิ่นที่มีศักยภาพให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา ตลอดจนติดต่อประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม
2.4 จัดทำแผนการระดมทรัพยากรทางการศึกษาและทุนการศึกษา โดยกำหนดวิธีการ แหล่งการสนับสนุน เป้าหมาย เวลาดำเนินการ และผู้รับผิดชอบ
2.5 เสนอแผนการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และทุนการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อขอความเห็นชอบและดำเนินการในรูปคณะกรรมการ
2.6 เก็บรักษาเงินและเบิกจ่ายไปใช้ตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่ต้องใช้วงเงินเพิ่มเติมให้เป็นตามระเบียบของทุนการศึกษาและระเบียบว่าด้วยเงินนอกงบประมาณทั้งตามวัตถุประสงค์และไม่กำหนดวัตถุประสงค์
3. การจัดหารายได้และผลประโยชน์
3.1 วิเคราะห์ศักยภาพของสถานศึกษาที่ดำเนินการจัดหารายได้ และสินทรัพย์ในส่วนที่จพนำมาซึ่งรายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษา เพื่อจัดทำทะเบียนข้อมูล
3.2 จัดทำแนวปฏิบัติ หรือระเบียบของสถานศึกษาเพื่อจัดหารายได้ และบริหารรายได้และผลประโยชน์ตามแต่ละสภาพของสถานศึกษาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.3 จัดหารายได้และผลประโยชน์ และจัดทำทะเบียนคุม เก็บรักษาเงินและเบิกจ่ายให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
5. ปฏิบัติงานอื่น ที่ได้รับมอบหมาย

6. การบริหารการเงิน มอบหมายให้
1. นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย
มีหน้าที่
1. เบิกจ่ายเงินจากคลัง การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน การโอนเงิน การกันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ให้เป็นตามขั้นตอนและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. เบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินบำรุงการศึกษาและอื่น ๆ ให้ทันตามที่กำหนดเวลาถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
3. จัดทำและเก็บเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การบัญชี ทุกประเภทให้เป็นระบบปลอดภัย
4. ออกใบเสร็จรับเงิน นำฝากเงินในกรณีที่เกินอำนาจการเก็บรักษาของโรงเรียน และรับการบริจาคโดยถือปฏิบัติเช่นเดียวกับเก็บเงินบำรุงการศึกษา
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

7. การบริหารการบัญชี มอบหมายให้
1. นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย
มีหน้าที่
1. การจัดทำบัญชีการเงิน
1.1 ตั้งยอดบัญชีระหว่างปีงบประมาณทั้งการตั้งยอดภายหลังการปิดบัญชีงบประมาณปีก่อน และการตั้งยอดก่อนปิดบัญชีปีงบประมาณปีก่อน
1.2 จัดทำกระดาษทำการโดยปรับปรุงบัญชีงบประมาณ โอนปิดบัญชีเงินนอกงบประมาณเข้าบัญชี ทุน และบัญชีเงินรับฝากและเงินประกัน ตั้งยอดบัญชีสินทรัพย์ที่เป็นบัญชีวัสดุ หรือบัญชีสินค้า คงเหลือ และบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน พร้อมทั้งจัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไปโดยใช้จำนวนเงินตามรายการหลังการปรับปรุง
1.3 บันทึกเปิดบัญชีคงค้าง (พึงรับพึงจ่าย) โดยบันทึกรายการด้านเดบิต ในบัญชีแยกประเภท (สินทรัพย์และค่าใช้จ่าย) และบันทึกรายการด้านเครดิตในบัญชีแยกประเภท (หนี้สิน ทุน รายได้ )
1.4 บันทึกบัญชีประจำวันให้ครอบคลุมการรับเงินงบประมาณ การรับรายได้จากการขายสินค้า หรือการบริการ การรับเงินรายได้ การจ่ายงบประมาณ การจ่ายเงินงบประมาณให้ยืม การจ่ายเงินนอกงบประมาณให้ยืม การซื้อวัสดุ หรือสินค้าคงเหลือ เงินทดลองจ่าย เงินมัดจำ และค่าปรับรายได้จากเงินกู้ของรัฐ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การรับเงินบริจาค การรับเงินรายได้แผ่นดิน การถอนเงินรายได้แผ่นดิน การเบิกเงินงบประมาณแทนกัน การจ่ายเงินให้หน่วยงานที่ปฏิบัติตามระบบควบคุมการเงิน การรับเงินความรับผิดทางละเมิด
1.5 สรุปรายการบันทึกบัญชีทุกวัน ทำการสรุปรายการรับหรือจ่ายเงินผ่านบัญชีแยกประเภทเงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินฝากคลัง สำหรับรายการอื่น ๆและรายการในสมุดรายวันทั่วไปให้ผ่านรายการเข้าบัญชีแยกประเภท ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน
1.6 รับปรุงบัญชี เมื่อสิ้นปีงบประมาณ โดยปรับรายการบัญชีรายได้จากงบประมาณค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย/รับที่ได้รับล่วงหน้า ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ
1.7 ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีรายได้สูงกว่า(ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายในงวดบัญชี และปิดรายการรายได้สูง(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายงวดบัญชีเข้าบัญชีรายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม แล้วให้โอนบัญชีรายได้แผ่นดินนำส่งคลังเข้าบัญชีรายได้แผ่นดิน หากมียอดคงเหลือให้โอนเข้ารายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง
1.8 ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสดและเงินฝากธนาคารตามรายงานคงเหลือประจำวัน และงบพิสูจน์ยอดฝากธนาคาร ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแยกประเภททั่วไปและการตรวจสอบความถูกต้องของบุญชีย่อยและทะเบียน
1.9 แก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกรายการผิดบัญชี จากการเขียนข้อความผิดหรือตัวเลขผิด จากการบันทึกตัวเลขผิดช่องบัญชีย่อยแต่ยอดรวมถูก โดยการขีดฆ่าข้อความหรือตัวเลขผิดลงลายมือชื่อกำกับพร้อมวัน เดือนปี แล้วเขียนข้อความหรือตัวเลขที่ถูกต้อง
กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
หลักการนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2
คู่มือแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบบัญชีส่วนราชการจากเกณฑ์เงินสดเข้าสู่เกณฑ์คงค้าง
2. การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
2.1จัดทำรายงานประจำเดือน ส่งหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลางภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยจัดทำรายงานรายได้แผ่นดิน รายงานรายได้และค่าใช้จ่าย รายงานเงินประจำงวด
2.2 จัดทำรายงานประจำปี โดยจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน จัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบกระแสเงินสดจัดทำโดยวิธีตรง จัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงินและจัดส่งรายงานประจำปีให้สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านเขตพื้นที่การศึกษาและจัดส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลางตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด
กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
หลักการนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2
3. การจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี และรายงานจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์ขึ้นใช้เองเว้นแต่เป็นแบบพิมพ์กลางที่เขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

8 . การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ มอบหมายให้
1. นายประสิน อนันตประเสริฐ หัวหน้า
มีหน้าที่
1.การจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา
1.1 ตั้งคณะกรรมการหรือบุคลากรขึ้นสำรวจวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินอาคาร สิ่งก่อสร้างทั้งหมดเพื่อทราบสภาพการใช้งาน
1.2 จำหน่าย บริจาค หรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามระเบียบในกรณีที่หมดสภาพหรือใช้ไม่ได้
1.3 จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินที่เป็นวัสดุ ครุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน ทั้งที่ซื้อหรือจัดหาจากเงินงบ ประมาณและเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนที่ได้จากการบริจาคที่ยังไม่ได้บันทึกคุมไว้ โดยบันทึกทะเบียนคุมราคา วันเวลาที่ได้สินทรัพย์
1.4 จดทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุสำหรับที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้างในกรณีที่ยังไม่ดำเนินการและยังไม่สมบูรณ์ให้ประสานกับกรมธนารักษ์ หรือสำนักงาน ธนารักษ์จังหวัดเพื่อดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน และให้จัดทำทะเบียนคุมในส่วนของโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน
1.5 จัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินของสถานศึกษา ซึ่งอาจใช้โปรแกรมระบบทะเบียนคุมสินทรัพย์ก็ได้ ถ้าสถานศึกษามีความพร้อม
1.6จัดทำระเบียบการใช้ทรัพย์สินที่เกิดจากการจัดหาของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. การจัดหาพัสดุ
2.1วิเคราะห์แผนงาน/โครงการ ที่จัดทำกรอบรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เพื่อตรวจดูกิจกรรมที่ต้องใช้พัสดุที่ยังไม่มีทะเบียนคุมทรัพย์สินและเป็นไปตามเกณฑ์ความขาดที่กำหนดตามมาตรฐานกลาง
2..2 จัดทำแผนระยะปานกลางและจัดหาพัสดุทั้งในส่วนที่สถานศึกษาจัดหาเองและร่วมมือกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นจัดหา
กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. การกำหนดแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง
3.1 จัดทำเอกสารแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างในกรณีที่เป็นแบบมาตรฐาน
3.2 ตั้งคณะกรรมการขึ้นกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือแบบรูปรายการในกรณีที่ไม่เป็นแบบมาตร ฐานโดยดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ
3.3 จัดซื้อจัดจ้าง โดยตรวจสอบงบประมาณ รายละเอียด เกณฑ์ คุณลักษณะเฉพาะประกาศ จ่าย/ขายแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะพิจารณาซองโดยคณะกรรมการ จัดทำสัญญาและเมื่อตรวจรับงานให้มอบเรื่องแก่เจ้าหน้าที่การเงินวางฎีกาเบิกเงินเพื่อจ่ายแก่ผู้ขาย/ผู้จ้าง
กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4. การควบคุม บำรุงรักษา และจำหน่ายพัสดุ
4.1จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน
4.2 กำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สิน
4.3 กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บควบคุม และเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระบบและการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีอย่างสม่ำเสมอทุกปี
4.4 ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาและซ่อมแซมทั้งก่อนและหลังการใช้งานสำหรับทรัพย์สินที่มีสภาพไม่สามารถใช้งานได้ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและทำจำหน่ายหรือขอรื้นถอนกรณีเป็นสิ่งปลูกสร้าง
5. หน้าที่อื่น ที่ได้รับมอบหมาย

9. งานธุรการฝ่ายงบประมาณ มอบหมายให้
1.นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2.นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย
มีหน้าที่
1. ตอบ – รับหนังสือราชการฝ่ายบริหารงบประมาณ
2. พัฒนางานธุรการในฝ่ายบริหารงบประมาณ
3. รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือการบริหารงานบุคลากร

การบริหารงานบุคคล

1. จิมจิรา สุขเดิมรอด หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล
มีหน้าที่
1. กำกับติดตาม การปฏิบัติงานในฝ่ายบริหารงานบุคคลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. พัฒนางานในฝ่ายบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
3.รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้อำนวยการทราบ
4. รายงานผลการปฏิบัติงานรับผิดชอบต่อหัวหน้าสถานศึกษา
5. ร่วมวางแผนการปฏิบัติงาน
6. ประสานกับทุกงานในฝ่าย และฝ่ายอื่น ๆ เพื่อดำเนินการประสบความสำเร็จ
7. ดูแลครู และบุคลากรทางการศึกษาในการไปราชการ อบรม สัมมนา มาปฏิบัติราชการ
8. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่ได้รับมอบหมาย

2. การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง มอบหมายให้
1. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย
4. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. การวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลัง
1.1 วิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคนกับภารกิจของสถานศึกษา
1.2 จัดทำแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.3 นำเสนอแผนอัตรากำลังเพื่อขอความเห็นชอบต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
1.4 นำแผนอัตรากำลังของสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ
2. การกำหนดตำแหน่ง
2.1 สถานศึกษาจัดทำภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.2 นำแผนอัตรากำลัง มากำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสถานศึกษาเพื่อนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุมัติ
3. การขอเลื่อนตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาและวิทยฐานะข้าราชการครู
3.1 สถานศึกษาขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง/ขอเลื่อนวิทยฐานะ/ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ตำแหน่ง/ขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3.2 ประเมินเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ/ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตำแหน่ง/ขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
3.3 ส่งคำขอปรับปรุงกำหนดตำแหน่ง/เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ/ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตำแหน่ง/ขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานกษาไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อนำเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาและหรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณีพิจารณาอนุมัติ และเสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้ง

3. การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง มอบหมายให้
1. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย
4. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ดำเนินการสรรหาเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณีได้รับอำนาจ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
1.1 การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือกและการคัดเลือกในกรณีจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ในตำแหน่งครูผู้ช่วย ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสถานศึกษาให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.2 การบรรจุแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้เชี่ยวชาญระดับสูง
2. การจ้างลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว
2.1 กรณีการจ้างลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวโดยใช้เงินงบประมาณให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
2.2 กรณีการจ้างลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวกรณีอื่น นอกเหนือจาก 1) สถานศึกษาสามารถดำเนินการจ้างลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวของสถานศึกษาได้ โดยใช้เงินรายได้ของสถานศึกษา ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนด
3. การแต่งตั้ง การย้าย โอนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1) การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.1 เสนอคำร้องขอไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อดำเนินการเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติของผู้ประสงค์ย้ายและผู้รับการย้ายแล้วแต่กรณี
1.2 บรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับย้ายมาจากสถานศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษาอื่น สำหรับตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.3 รายงานการบรรจุแต่งตั้งและข้อมูลประวัติส่วนตัวไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติต่อไป
2) การโอนหรือการเปลี่ยนสถานะของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
2.1 เสนอคำร้องโอนของข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นไปยังเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไป
2.2 บรรจุแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
3) การบรรจุกลับเข้ารับราชการ
4) การรักษาราชการแทนและรักษาการในตำแหน่ง

4. งานการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ มอบหมายให้
1. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย
4. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1) การพัฒนาก่อนมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่
1.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาดำเนินการปฐมนิเทศแก่ผู้ที่ได้รับการสรรหา และบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
1.2 แจ้งภาระงานมาตรฐานคุณภาพงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพเกณฑ์การประเมินประเมินผลงาน ฯลฯ แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานสึกษา ก่อนมีการมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติงาน
1.3 ดำเนินการติดตาม ประเมินผลและจัดให้มีการพัฒนาตามความเหมาะสมและต่อเนื่อง
2) การพัฒนาระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ( ม.79)
2.1 ศึกษาวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา
2.2 กำหนดหลักสูตรการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา
2.3 ดำเนินการพัฒนาตามหลักสูตร
2.4 ติดตาม ประเมินการพัฒนา
2.5 รายงานผลการดำเนินงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3) การพัฒนาก่อนเลื่อนตำแหน่ง ( ม.80 )
3.1 ศึกษาวิเคราะห์ คุณลักษณะเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ลักษณะงานตามตำแหน่งที่ได้รับการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
3.2 ดำเนินการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาที่เหมาะสม
3.3 ติดตาม ประเมินการพัฒนา
4) การพัฒนากรณีไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะ (ม.55)
4.1 ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4.2 รายงานผลการดำเนินงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1) การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติและกรณีพิเศษ
1.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
1.2 คณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบพิจารณาตามกฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อยขั้นเงินเดือน
1.3 ผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา กรณีสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ต้องชี้แจงเหตุผลให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวทราบ
1.4 รายงานการสั่งการเลื่อนและไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อจัดเก็บข้อมูลลงในทะเบียนประวัติต่อไป
2) การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
2.1 แจ้งชื่อผู้ตายและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติราชการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อดำเนินการของความเห็นชอบไปยังคณะรัฐมนตรี
2.2 สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ตายเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
2.3 รายงานผลการดำเนินการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการต่อไป
3) การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัย
3.1 ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลของผู้ไปศึกษาต่อ ฝึกอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย จากสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรม ฯลฯ
3.2 ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนด
3.3 สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
3.4 รายงานผลการดำเนินการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4. การเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
5. การดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีจ่ายเงินเดือน
6. เงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนอื่น
7. งานทะเบียนประวัติ
1) การจัดทำและจัดเก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง
1.1 สถานศึกษาจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ
1.2 สถานศึกษาเก็บไว้ 1 ฉบับ ส่งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1 ฉบับ
1.3 เปลี่ยนแปลง บันทึกข้อมูลลงในทะเบียนประวัติ
2) การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้างประจำ
2.1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้างประสงค์ขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดโดยแนบเอกสารต่อผู้บังคับบัญชาขั้นต้น ประกอบด้วย สูติบัตร ทะเบียนราษฎร์ หลักฐานทางการศึกษา
2.2 ตรวจสอบความถูกต้อง
2.3 นำเสนอไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพ่อขออนุมัติการแก้ไข ต่อ ก.ค.ศ.
2.4 ดำเนินการแก้ไขในทะเบียนประวัติ
2.5 แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7. งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
7.1 ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
7.2 ดำเนินการในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด
7.3 จัดทำทะเบียนผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์ และคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
8. งานขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
8.1 ผู้ขอมีบัตรกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ โดยมีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
8.2 ตรวจสอบเอกสารความถูกต้อง
8.3 นำเสนอผู้มีอำนาจลงนามในบัตรประจำตัว โดยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับโดยคุมทะเบียนประวัติไว้
8.4 ส่งคืนบัตรประจำตัวถึงสถานศึกษา
9. งานขอหนังสือรับรองงานขออนุญาตให้ข้าราชการไปราชการต่างประเทศ งานขออนุญาตลาอุปสมบท งานขอพระราชทานเพลิงศพ การลาศึกษาต่อ ยกย่องเชิดชุเกียรติและให้ได้รับเงินวิทยพัฒน์ การจัดสวัสดิการ ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้อง
10. ดำเนินการจัดทำสวัสดิการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ

5. งานวินัยและการรักษาวินัย มอบหมายให้
1. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ หัวหน้า
2. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย
3. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย
4. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. กรณีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
2. กรณีความผิดวินัยร้ายแรง
3. การอุทธรณ์
- การอุทธรณ์กรณีความผิดวินัย
4. การร้องทุกข์
5. การเสริมสร้างและการป้องกันการกระทำผิดวินัย

6. การออกจากราชการ มอบหมายให้
1. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ หัวหน้า
2. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย
3. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย
4. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. การลาออกจากราชการ
1.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณาอนุญาตการลาออกจากราชการของครู ผู้ช่วยครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.2 รายงานการอนุญาตการลาออกไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. การให้ออกจากราชการ กรณีไม่พ้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่ผ่านการเตรียมความพร้อม และพัฒนาอย่างเข้มต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.
2.1 กำหนดดำเนินการให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเข้ารับการพัฒนาอย่างเข้มตาม
2.2 หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดใน กฎ ก.ค.ศ. กำหนดดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
2.3 กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินการทดลองการปฏิบัติราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มออกจากราชการ
2.4 รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ
3. การออกจากราชการกรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป
3.1 สถานศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น
3.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการหากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.3 รายงานการสั่งให้ออกจากราชการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4. การให้ออกจากราชการไว้ก่อน
4.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ครูผู้ช่วย ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา (เว้นแต่ได้กระทำผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ)
4.2 รายงานการสั่งพักราชการหรือการให้ออกจากราชการไว้ก่อน ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5. การให้ออกจากราชการเพราะเหตุรับราชการนานหรือเหตุทดแทน
ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดและรายงานการออกจากราชการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานอกจากดำเนินการตามที่กำหนดในกฏ ก..ค.ศ. แล้วยังสามารถดำเนินการได้
1) กรณีเจ็บป่วยโดยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยสม่ำเสมอ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการอันเนื่องจากการเจ็บป่วยถ้าผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ออกจากราชการ เมื่อเห็นว่าไม่สามารถปฏิบัติราชการได้รายงานการสั่งให้ออกจากราชการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2) กรณีไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ของทางราชการ
2.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สมัครใจจะปฏิบัติราชการตามความประสงค์ของทางราชการออกจากราชการ
2.2 รายงานการสั่งให้ออกจากราชการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3) กรณีสั่งให้ออกจากราชการเพราะขาดคุณสมบัติทั่วไป
ตามาตรา 30 แห่งกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย (ม.30(1)) กรณีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ตาม (ม.30(4)) กรณีเป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. (ม.30(5)) กรณีเป็นผู้บกพร่องในเรื่องศีลธรรมอันดี (ม.30(5)(7)) กรณีเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (ม.30(8)) หรือกรณีเป็นผู้ล้มละลาย ( ม.30(1))
3.1 สถานศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามคุณสมบัติใน มาตรา (ม.30(1)(4)(5)(7)(8)(9) แห่งกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ผูกขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 1 ออกจากราชการ
3.3 รายงานการสั่งให้ออกจากราชการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4) กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป กรณีมีเหตุสงสัยว่าเป็นผู้ไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นใดเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไป (ม.30(3))
4.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษาเสนอผลการสอบต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
4.3 เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามีมติเห็นว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา (ม.30(3)) ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ออกจาราชการ
5) กรณีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถบกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสม
5.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏอิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการหรือประพฤติตนไม่เหมาะสมถ้าคณะกรรมการสอบสวนและผู้อำนวยการสถานศึกษาเห็นว่าครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นไม่เป็นผู้หย่อนความสามารถไม่บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือเป็นผู้ประพฤติตนเหมาะสมให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนและผู้อำนวยการสถานศึกษาเห็นว่าเป็นหย่อนความสามารถบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม ให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
6) กรณีมีมลทินมัวหมอง
6.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ได้มีการกระกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่การสอบสวนไม่ได้ ความแน่ชัดพอที่สั่งลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าให้รับราชการต่อไปจะทำให้เสียหายต่อทางราชการอย่างร้ายแรง
6.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษาเสนอผลการสอบสวนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
6.3 เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองกรณีที่ถูกสอบสวนข้างต้น ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็ญบำนาญเหตุทดแทน
7) กรณีได้รับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลหรือโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็ญบำนาญเหตุทดแทนหรือครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ได้รับโทษจำคุก โดยคำสั่งของศาล หรือรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

7. งานธุรการฝ่ายบริหารงานบุคคล มอบหมายให้
1. นายวิลาศ แก้วทิพมณี หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย
4. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ตอบ – รับหนังสือราชการฝ่ายบริหารบุคคล
2. พัฒนางานธุรการในฝ่ายบริหารบุคคล
3. รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือการบริหารงานวิชาการ

การบริหารงานวิชาการ

1. นางกิจจา จันทภาโส หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ
มีหน้าที่
1. กำกับนิเทศ ติดตามงานฝ่ายวิชาการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. วางแผนพัฒนางานในฝ่ายวิชาการให้มีประสิทธิภาพ
3. รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้อำนวยการโรงเรียนทราบ
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
5. ร่วมวางแผนการปฏิบัติงาน จัดทำปฏิทินงาน คู่มือการปฏิบัติงานของฝ่ายวิชาการ
6. ประสานกับทุกงานในฝ่าย และฝ่ายอื่น ๆ เพื่อดำเนินการประสบความสำเร็จ
7. ดูแลและร่วมดำเนินกิจการ การรับนักเรียนเข้าเรียน การจัดห้อง การจัดตารางสอนและการนิเทศติดตามการสอนของครู – อาจารย์
8. รายงานผลการปฏิบัติงานรับผิดชอบต่อผู้บริหารสถานศึกษา
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

2. งานธุรการฝ่ายวิชาการ มอบหมายให้
1. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ตอบ - รับหนังสือราชการฝ่ายบริหารวิชาการ
2. พัฒนางานธุรการในฝ่ายบริหารวิชาการ
3. รายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย



3. งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า 2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย 3. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย 4. นางกันต์กนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย 5. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย 6. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย 7. นายวิทยา จิตต์รัตน์ ผู้ช่วย 8. นายสวัสดิ์ ธระจิตสม ผู้ช่วย 9. นายชำนาญ วาจาสุจริต ผู้ช่วย
10. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ศึกษาวิเคราะห์เอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 สาระแกนกลางของกระทรวง ศึกษาธิการ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่น
2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและประเมินสถานภาพสถานศึกษา เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจ เป้าหมายคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายรวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. จัดทำโครงสร้างหลักสูตรและสาระต่าง ๆ ที่กำหนดให้มีในหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยพยายามบูรณาการเนื้อหาสาระทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันและระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
4. นำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการใช้หลักสูตรให้เหมาะสม
5. นิเทศการใช้หลักสูตร
6. ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
7. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความเหมาะสม

4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า 2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย 3. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย 4. นางกันต์กนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย 5. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย 6. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย 7. นายวิทยา จิตต์รัตน์ ผู้ช่วย 8. นายสวัสดิ์ ธระจิตสม ผู้ช่วย 9. นายชำนาญ วาจาสุจริต ผู้ช่วย
10. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย/เลขานุการ
4.1 หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ มอบหมายให้
1. นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์
2. นายสวัสดิ์ ธระจิตสม หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
3. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ
4. นายประสิน อนันตประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม
5. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย
6. นายชำนาญ วาจาสุจริต หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
7. นายวิลาศ แก้วทิพมณี หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา
8. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มีหน้าที่
1. ควบคุม ติดตาม ดูแล การจัดกิจกรรม ในหลักสูตรให้เป็นไปตามระเบียบ ว่าด้วยการจัดกิจกรรมในหลักสูตรสถานศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดให้มีกิจกรรม ลูกเสือ ชุมนุมต่าง ๆ กิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมอิสระของผู้เรียน
2. ติดตาม ดูแล ให้มีการจัดระบบการจัดกิจกรรม มีครู อาจารย์ เข้ารับผิดชอบกิจกรรมตามศูนย์กิจกรรม
3. ติดตาม ดูแล การประเมินผลการผ่านกิจกรรมบังคับ และสรุปประเมินผลกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมอิสระของผู้เรียน
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

5. งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มอบหมายให้
1. นางกิจจา จันทภาโส หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย 3. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย 4. นางกันต์กนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1.ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ ตามสาระและหน่วยการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระกิจกรรม ทั้งนี้โดยจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือ
เครือข่าย ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม
3. จัดให้มีการนิเทศการเรียนการสอนแก่ครูในแต่ละกลุ่มสาระต่าง ๆ โดยเน้นการนิเทศที่ร่วมมือช่วยเหลือกันแบบกัลยาณมิตร เช่น นิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกันหรือแบบอื่น ๆ ตาม ความเหมาะสม
4. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครู เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

6. งานทะเบียน วัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน และรับ
นักเรียน มอบหมายให้
1. นางกิจจา จันทภาโส หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นายวิทยา จิตต์รัตน์ ผู้ช่วย
4. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย
5. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย/เลขานุการ

มีหน้าที่
1. กำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลของสถานศึกษา
2. ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการวัดผล และประเมินผลแต่ละรายวิชา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3. ส่งเสริมให้ครูดำเนินการวัดผล และประเมินผลการเรียนการสอน โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง จากกระบวนการ การปฏิบัติ และผลงาน
4. จัดให้มีการเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และผลการเรียนจากสถานศึกษาอื่น สถานประกอบการ และอื่น ๆ ตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
5. จัดทำทะเบียนนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน
6. พัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้มีมาตรฐาน
7. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่รับมอบหมาย


7. งานรับนักเรียน มอบหมายให้
1. นางกิจจา จันทภาโส หัวหน้า
2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย
3. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ให้สถานศึกษาประสานงานการดำเนินการแบ่งเขตพื้นที่บริการการศึกษาร่วมกันและเสนอข้อตกลงให้เขตพื้นที่การศึกษาเห็นชอบ
2. กำหนดแผนการรับนักเรียนของสถานศึกษา โดยประงานกับเขตพื้นที่การศึกษา
3. ดำเนินการรับนักเรียนตามแผนที่กำหนด
4. ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ในการติดตามช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในการเข้าเรียน
5. ประเมินผลและรายงานผลรับเด็กเข้าเรียนให้เขตพื้นที่การศึกษาทราบ

8. งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า 2. นางขรินทร์ทิพย์ กาญจนเทพ ผู้ช่วย 3. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย 4. นางกันต์กนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย 5. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย 6. นายวิลาศ แก้วทิพมณี ผู้ช่วย 7. นายวิทยา จิตต์รัตน์ ผู้ช่วย 8. นายสวัสดิ์ ธระจิตสม ผู้ช่วย 9. นายชำนาญ วาจาสุจริต ผู้ช่วย
10. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารการจัดการและการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ในภาพรวมของสถานศึกษา
2. ส่งเสริมให้ครู ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ประสานความร่วมมือในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และงานวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงานและสถาบันอื่น
4. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่รับมอบหมาย

9. งานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ มอบหมายให้
1. นายวิลาศ แก้วทิพมณี หัวหน้า
2. นายชำนาญ วาจาสุจริต ผู้ช่วย
3. นายสวัสดิ์ ธระจิตสม ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. บริหารงานห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
2. สำรวจแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น ในเขตพื้นที่การศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษาใกล้เคียง
3. จัดทำเอกสารเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้แก่ครู สถานศึกษาอื่น บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่น ที่จัดการศึกษาในบริเวณใกล้เคียง
4. จัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้รวมทั้งพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ และประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาอื่น บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่น ที่จัดการศึกษาในการ จัดตั้ง ส่งเสริม พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ร่วมกัน
5. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครู ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยครอบคลุมภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่รับมอบหมาย

10. งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มอบหมายให้
1. นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย
3. นางกันกนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง ผู้ช่วย
4. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ ความจำเป็นในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอน และการ
บริหารงานวิชาการ
2. ส่งเสริมให้ครูผลิต พัฒนาสื่อ และนวัตกรรมการเรียนการสอน
3. จัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนางานด้านวิชาการ
4. ประสานความร่วมมือในการผลิต จัดหา พัฒนาและการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนางานวิชาการกับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น
5. การประเมินผลการพัฒนาการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
6. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่รับมอบหมาย

11. งานนิเทศการศึกษา มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า
2. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย
4. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่ม ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1.จัดระบบนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา
2. ดำเนินการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะสมกับสถานศึกษา
3. ประเมินผลการจัดระบบ และกระบวนการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษา
4. ติดตาม ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนของสถานศึกษา
5. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย


12. งานแนะแนวการศึกษา มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า 2. นางจิมจิรา สุขเดิมรอด ผู้ช่วย/เลขานุการมีหน้าที่
1.จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทุนการศึกษาทุกประเภททั้งจากทางราชการ และทุนจากองค์กรเอกชน
2.จัดระบบการแนะแนวทางวิชาการ และวิชาชีพภายในสถานศึกษา โดยเชื่อมโยงกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกระบวนการเรียนการสอน
3. ดำเนินการแนะแนวการศึกษา โดยความร่วมมือของครูทุกคนในสถานศึกษา
4. ติดตามและประเมินผลรายงานการจัดระบบและกระบวนการแนะแนวการศึกษาในสถานศึกษา
5. ประสานความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ด้านการแนะแนวการศึกษากับสถานศึกษา หรือเครือข่ายการแนะแนวภายในเขตพื้นทีการศึกษา
6. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

13. งานสารสนเทศและการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
มอบหมายให้
1. นายวิทยา จิตต์รัตน์ หัวหน้า
2. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย
3. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1.จัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
2. กำหนดเกณฑ์การประเมิน เป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ของกระทรวง เป้าหมายความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษา หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
3. วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ให้บรรลุผลตามเป้าหมายความสำเร็จของสถานศึกษา
4. ดำเนินการพัฒนางานตามแผนและติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในเพื่อปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5. ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา และหน่วยงานอื่นในการปรับปรุง และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
6. ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา
7. ประสานกับสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาในการประเมินสถานศึกษาเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
8. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่รับมอบหมาย

14. งานส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า
2. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย
4. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่ม ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. การศึกษา สำรวจความต้องการสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน
2. จัดให้ความรู้ เสริมสร้างความคิด และเทคนิค ทักษะ ทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น
3. การส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางวิชาการของสถานศึกษาและจัดโดยบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
4. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น
5. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่รับมอบหมาย

15. งานประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า
2. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย
4. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่ม ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1.ประสานความร่วมมือ ช่วยเหลือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ทั้งบริเวณใกล้เคียงภายในเขตพื้นที่การศึกษา ต่างเขตพื้นที่การศึกษา
2. สร้างเครื่องข่ายความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
3. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

16. งานส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน
และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา มอบหมายให้
1. นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน หัวหน้า
2. นางกิจจา จันทภาโส ผู้ช่วย
4. นายประสิน อนันตประเสริฐ ผู้ช่วย/เลขานุการ
มีหน้าที่
1. สำรวจและศึกษาข้อมูลการจัดการศึกษา รวมทั้งความต้องการในการได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
2. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาวิชาการและการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
3. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
4. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

ทิศทางการบริหารและการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านควนเจดีย์

ทิศทางการบริหารและการจัดการศึกษา
โรงเรียนบ้านควนเจดีย์
ปีการศึกษา 2550 - 2552
สุขะมุกข์ เรืองอ่อน

หลักการ
1. จัดการศึกษาเพื่อชีวิต
2. จัดการศึกษาบนพื้นฐานคุณธรรม คุณภาพ เอกภาพ ดุลยภาพ ระบบและมาตรฐาน
3. พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4. พัฒนานักเรียน ครู เจ้าหน้าที่และนักการภารโรง
5. ระดมศักยภาพของบุคลากรและทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6. ให้ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

นโยบาย
ข้อ 1 ด้านการบริหารและการจัดการ
มุ่งปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการด้านการศึกษา ให้เหมาะสม และมีมาตรฐานสากล สอดคล้องกับนโยบายของสพฐ. และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ด้วยมาตรการต่อไปนี้
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสพฐ.
2. ปรับปรุงคู่มือการบริหารงานของโรงเรียน
3. มอบหมายงานและหน้าที่ตรงตามวุฒิการศึกษา ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์หรือความถนัด
4. ส่งเสริมครูให้รับผิดชอบในหน้าที่ ปฏิบัติงานตามระบบ ตามขั้นตอนและตามสายงานบังคับบัญชาพร้อมทั้งทำงานเป็นทีม
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริหารและการจัดการอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานระดับล่างมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
7. ดำเนินงานในรูปนิติบุคคล และบริหารงานในรูปคณะกรรมการ
8. พัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรและการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
9. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ชุมชน สถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมจัดการศึกษาและสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
10. จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาโรงเรียน

ข้อ 2 ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู
มุ่งพัฒนาครูผู้ร่วมบริหาร ครูผู้สอนและครูสนับสนุน ให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ความสามารถ และมีความชำนาญแบบมืออาชีพ รวมทั้งดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาฯ ด้วยมาตรการต่อไปนี้
1. พัฒนาครูให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาฯและเป็นครูมืออาชีพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ตามความต้องการของโรงเรียน
3. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม ให้แก่บุคลากรอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง
4. สนับสนุนให้ครูทุกท่านพัฒนาตนเอง ทุกรูปแบบ ทุกมิติ ตามหน้าที่ ตามความสนใจอย่างต่อเนื่องและเท่าทันเหตุการณ์/สถานการณ์
5. สนับสนุนการค้นหาและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรแต่ละคน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และสังคม
6. จัดระบบการนิเทศการสอนและการทำงานให้มีประสิทธิภาพ จริงจัง และสม่ำเสมอ

ข้อ 3 ด้านขวัญ กำลังใจ และสวัสดิการของบุคลากร
มุ่งเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ และสวัสดิการแก่บุคลากรให้มีความมั่นใจในการทำงาน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ด้วยมาตรการต่อไปนี้
1. ปรับปรุงสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น
2. ยกย่อง เชิดชูเกียรติและพิจารณารางวัลให้แก่ครูเกษียณ ครูต้นแบบ ครูดีเด่น ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทและเสียสละ เพื่อนำชื่อเสียงและความภาคภูมิใจมาสู่โรงเรียน
3. จัดตั้งกองทุนถาวรสำหรับโรงเรียนและบุคลากร

ข้อ 4 ด้านการจัดการเรียนการสอน
เร่งรัดปฏิรูปการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ความสามารถ มีความสุข รักการเรียนรู้ สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถปฏิบัติตนให้มีคุณค่าต่อสังคม ด้วยมาตรการต่อไปนี้
1. จัดทำและพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน โดยมีหลักสูตรแกนกลางเป็นพื้นฐาน และเพิ่มหลักสูตรเฉพาะที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
2. จัดทำแผนการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
3. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจและความถนัดของนักเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. จัดการเรียนรู้และกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาตามศักยภาพ
5. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
6. จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
7. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีทักษะทางภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
8. นำทรัพยากรโรงเรียนและท้องถิ่นมาเป็นพลังสำคัญในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้
9. ปลูกฝังนักเรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้ ยึดเศรษฐกิจพอเพียง และมีนิสัยรักการออม
10. ส่งเสริมครูและนักเรียนออกไปสัมผัสชีวิตผู้ที่ได้รับความยากลำบากในสังคม เพื่อฝึกให้เป็นผู้เสียสละต่อชุมชนและสังคม
11. กำหนดให้ครูผู้สอนจัดทำวิจัยในชั้นเรียนและประกวดสื่อการเรียนการสอนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง และนำผลมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้
12. ส่งเสริมการวัดผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และประเมินสภาพจริง โดยพิจารณาจากพัฒนาการ ความประพฤติ พฤติกรรม การร่วมกิจกรรมควบคู่กับแบบทดสอบ
13. เน้นการนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ข้อ 5 ด้านอาคารสถานที่ เทคโนโลยี / นวัตกรรม
มุ่งปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารสถานที่ รวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ด้วยมาตรการต่อไปนี้
1. ปรับปรุง/ซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบการ ระบบไฟฟ้า น้ำประปา สนามและบริเวณโรงเรียน ให้สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษา การเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. จัดและตกแต่งสถานที่ภายในโรงเรียน ให้เป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
3. จัดหา พัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรม มาใช้ในกระบวนการบริหารการจัดการและการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ



ข้อ 6 ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
มุ่งพัฒนาคุณภาพของสถาบันให้มีมาตรฐานสากล ทั้งในด้านปัจจัย กระบวนการ
ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน จนสามารถประกันคุณภาพฯ และได้รับการรับรองคุณภาพฯ จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ด้วยมาตรการต่อไปนี้
1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานฯ โดยการประเมินตนเองและประเมินภายใน เพื่อสร้างความพร้อมก่อนที่จะมีการประเมินภายนอก
2. จัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา อีกทั้งผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
3. จัดทำและนำเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต่อสาธารณชน
พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมที่จะรับการประเมินอีกในครั้งต่อไป

จากใจ..ผู้อำนวยการ

ยินดีต้อนรับท่านผู้มีเกียรติ ที่มาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ของดิฉัน
ดิฉันใคร่ขอกล่าวแนะนำตัวแก่ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม เพื่อให้ท่านรู้จักกับดิฉันก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาสาระที่บรรจุไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้ต่อไป ดิฉัน ชื่อนางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนเจดีย์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา สำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก
ดิฉันตั้งใจให้เว็บไซต์แห่งนี้ เป็นที่เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการศึกษารวมถึงภารกิจงานภายในโรงเรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นหน้าต่างของดิฉันที่จะติดต่อสื่อสารกับท่านทั้งหลายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด ดิฉันยินดีรับฟัง และยินดีนำข้อเสนอแนะที่ดีไปปรับปรุงงานของดิฉันต่อไป
นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน
สิงหาคม 2550